เอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า เป็นสิ่งที่สำคัญและควรรู้ เพราะกระแสของการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ ยังคงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งสินค้าจากจีน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อเพื่อใช้งานเอง หรือเป็นการสั่งสินค้าจากจีนเพื่อนำเข้ามาขายสร้างรายได้ ซึ่งหนึ่งข้อสำคัญที่ควรรู้และศึกษาสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นสั่งสินค้าจากจีนก็คือ เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ และขั้นตอนการดำเนินการพิธีศุลกากรสำหรับการนำเข้า เพื่อให้การสั่งสินค้าจากจีนและการนำเข้าสินค้าจากจีนนั้นเป็นไปอย่างถูกกฎหมายนั่นเอง
เอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า สินค้าจากจีน
ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้า จำเป็นที่จะต้องเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนของการตรวจสอบและปล่อยสินค้า โดยเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการสั่งสินค้าจากจีนมีดังนี้
- ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)
เป็นเอกสารที่ใช้แสดงรายละเอียดของสินค้าที่นำเข้าต่อกรมศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากร
- ใบตราส่งสินค้าทางเรือ(B/L: Bill of Landing) หรือทางอากาศ (AWB: Air Way Bill)
เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทขนส่งที่จะขนส่งสินค้าทางเรือ หรือเครื่องบินจากประเทศส่งออกไปยังปลายทาง ซึ่งมีความสำคัญมากในทางบัญชี เนื่องจากจะช่วยให้นักบัญชีบันทึกรับรู้กรรมสิทธิ์และภาระจากสินค้าได้อย่างถูกต้อง
- บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้า เช่น น้ำหนัก จำนวน ราคา เป็นต้น
- บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เป็นเอกสารสำหรับระบุการบรรจุหีบห่อของสินค้า สำหรับผู้เกี่ยวข้องด้านการขนถ่ายสินค้า ทั้งตัวแทนสายเรือหรือการบิน เพื่อความชัดเจนในการบรรจุ และเตรียมการขนถ่ายสินค้า วางแผนพื้นที่สำหรับบรรจุสินค้า จองเรือและเครื่องบินได้ถูกต้อง และยังใช้แสดงเป็นหลักฐานให้ฝ่ายขนถ่ายสินค้าของกรมศุลกากรตรวจสอบเพื่อความรวดเร็วในการปล่อยสินค้า
- ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (Import License) (ถ้ามี)
เอกสารชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ของนำเข้านั้นเป็นของต้องจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) (กรณีขอลดอัตราอากร)
เป็นเอกสารที่ใช้เพื่อรับรองสินค้าว่ามาจากประเทศใด และปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายที่ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า เนื่องจากหลายๆ ประเทศมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า จึงทำให้จำเป็นต้องแสดงเอกสารนี้เพื่อตรวจสอบว่าหากตรงกับเงื่อนไข จึงจะสามารถนำเข้าสินค้าได้
- เอกสารอื่นๆ
ในกรณีนำเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีกึ่งสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ควรมีเอกสารใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า เอกสารแสดงรายละเอียดของส่วนผสม หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยด้วย
พิธีการทางศุลกากรการนำเข้าสินค้า
ในปัจจุบัน กรมศุลกากรได้อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการนำเข้าสินค้าโดยพัฒนาระบบนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริการผ่านพิธีศุลกากร เรียกว่าระบบ ‘TCS’ ซึ่งผู้ที่ต้องการดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องทำการลงทะเบียนกับกรมศุลกากรเพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลก่อน และเมื่อลงทะเบียนแล้ว จะสามารถเข้าสู่ระบบผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือผ่าน Service Counter ของเอกชนหรือจุดให้บริการของกรมศุลกากรได้ โดยการดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรสำหรับการสั่งสินค้าจากจีน มี 4 ขั้นตอนดังนี้
- การยื่นแบบกศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้า
เป็นการยื่น เอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่กล่าวไปด้านบน เพื่อเป็นการสำแดงข้อมูลการนำเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลคาเพิ่มให้แก่กรมศุลกากร ส่วนนี้สามารถบันทึกข้อมูลผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ได้ และหากตรวจสอบไม่พบข้อผิดพลาด ก็จะสามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้
- การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล
ในขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบพิสูจน์เพื่อการปล่อยสินค้า โดยจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่มคือ ให้เปิดตรวจ (Red line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) ซึ่งเมื่อระบบตรวจสอบเรียบร้อย จะทำการกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าและสั่งการตรวจให้อัตโนมัติ พร้อมแจ้งไปยังผู้ประกอบการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน โดยในกรณียกเว้นการตรวจ ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้า สามารถติดต่อโรงพักสินค้า หรือท่าเทียบเรือเพื่อรับมอบสินค้าได้เลย แต่ถ้าหากเป็น กรณีให้เปิดตรวจ ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้า จะต้องติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือเพื่อเตรียมของสำหรับตรวจ และติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า
- การชำระภาษีอากรขาเข้า
เป็นการชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากร โดยสามารถเลือกชำระและวางเงินประกันผ่านสำนักงานศุลกากร หรือชำระและวางเงินประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้
- การตรวจปล่อยสินค้า
ในขั้นตอนนี้ ผู้นำเข้า จะต้องนำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร และเอกสาร Deliver Order (D/O) ไปดำเนินการตรวจปล่อย และส่งมอบสินค้าจากอารักขาศุลกากร และทำการขนถ่ายสินเค้านำเข้ามายังโกดังหรือโรงงาน
ซึ่งเมื่อดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรแล้ว ผู้นำเข้าหรือตัวแทน จะต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย
พอทราบรายละเอียดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า หรือขั้นตอนการดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรแล้ว ก็จะพบว่าผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบการที่สนใจสั่งสินค้าจากจีน จำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดและเตรียมเอกสารให้ถี่ถ้วน เพื่อทำให้การสั่งสินค้าและการนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าหากผู้ประกอบการมีความกังวลในเรื่องของการเตรียมเอกสารและขั้นตอนต่างๆ การเลือกบริษัทขนส่งและนำเข้าที่เป็นตัวแทนในประเทศไทย จะช่วยอำนวยความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าจากจีนไปจนถึงขั้นตอนการนำเข้าและเตรียมเอกสาร เรียกได้ว่าหมดห่วง นั่งรอรับของสบายๆ ได้เลย